1. หลักการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
1.1 หลักการเลือกใช้ปุ๋ยหรือสารเคมี ในการปลูกพืชโดยใช้ระบบไฮโดรโพนิคส์ มีความจำเป็นที่จะต้องให้ธาตุอาหารในรูปของสารละลายแก่พืช จึงต้องใช้ปุ๋ยที่มีการละลายน้ำดีมา ละลายน้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม หลักในการเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
- ความบริสุทธิ์ของปุ๋ยหรือสารเคมี
- ความสามารถในการละลายน้ำของสารเคมี
- ราคาของปุ๋ยหรือสารเคมี
1.2 คุณภาพของน้ำที่ใช้เตรียมสารละลาย คุณภาพน้ำมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับเตรียมสารละลายเป็นดังนี้
ส่วนประกอบทางเคมี | คุณภาพน้ำ |
ความเป็นกรดด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (EC) (mS/cm) ไนเตรท NO3– -N (ส่วนต่อล้าน) แอมโมเนียม (NH4+) (ส่วนต่อล้าน) ฟอสเฟต (PO4-3 – P) (ส่วนต่อล้าน) โพแทเซียม (K) (ส่วนต่อล้าน) แคลเซียม (Ca) (ส่วนต่อล้าน) แมกนีเซียม (Mg) (ส่วนต่อล้าน) ซัลเฟต (SO4-2 – S) (ส่วนต่อล้าน) เหล็ก (Fe) (ส่วนต่อล้าน) โบรอน (B) (ส่วนต่อล้าน) สังกะสี (Zn) (ส่วนต่อล้าน) ทองแดง (Cu) (ส่วนต่อล้าน) แมงกานีส (Mn) (ส่วนต่อล้าน) คลอรีน (Cl) (ส่วนต่อล้าน) โซเดียม (Na) (ส่วนต่อล้าน) | 5 -8 |
1.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมสูตรธาตุอาหารพืช
- ชนิดและสายพันธุ์ของพืช
- ระยะการเจริญเติบโตของพืช
- ส่วนของพืชที่ต้องการผลิต เช่น ใบ ราก ผล ดอก ลำต้น
- สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการนำธาตุอาหารไปใช้ ได้แก่ ฤดูกาลหรือความยาวของวันอุณหภูมิ พืชมีอัตราการหายใจและการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน ดังนั้นสูตรอาหารสำหรับใน เขตร้อนและเขตหนาวจึงแตกต่างกัน ความเข้มของแสง โดยจะให้ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยเพิ่มขึ้น 30-50% ในช่วงฤดูหนาว และ จะลดต่ำลงในวันที่มีแสงแดด
2. ขั้นตอนการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชไฮโดรโพนิคส์
วิธีเตรียมจะมีขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ซึ่งแม่ปุ๋ยหรือสารเคมีที่เลือกใช้ตามสูตรที่ได้คำนวณไว้ โดยต้องให้มีความแม่นยำมากๆ (บวกลบไม่เกิน 5%) เครื่องชั่งที่ใช้ชั่งธาตุหลักและธาตุรองกับธาตุเสริม จะมีความละเอียด ที่ต่างกัน โดยมักใช้เครื่องชั่งในระดับกรับกับธาตุเสริม และจะใช้เครื่องชั่งที่มีความละเอียดในระดับร้อยกรัมสำหรับการเตรียมธาตุหลักและธาตุรอง
2. เตรียมถังที่จะใช้เป็นถังสารละลายเข้มข้น (ถังสารละลายสต็อค A และถังสารละลายสต็อค B) โดยเติมน้ำลงในถัง 10% ของปริมาณน้ำทั้งหมดที่จะใช้เตรียมสารละลายเข้มข้น โดยควรจะให้น้ำที่ใช้เตรียมมีความเป็นกรดด่าง(พีเอช)ที่ต่ำกว่า 7.0
3. ละลายสารเคมีหรือแม่ปุ๋ยที่จะใช้เตรียมสารละลายที่ละชนิดในถังน้ำโดยคนให้เข้ากัน จนละลายทั้งหมดก่อนจะเทลงในถังสารละลายเข้มข้น (ถังสารละลายสต็อค A หรือ B)
ทำเช่นนี้ จนครบทุกสารเคมีหรือครบทุกแม่ปุ๋ย แล้วจึงเติมน้ำให้มีปริมาตรครบตามที่กำหนด
4. ในการเตรียมให้ละลายธาตุอาหารหลักก่อน แล้วจึงตามด้วยธาตุอาหารรองหรือธาตุอาหารเสริม แต่จะต้องคำนึงถึงการเตรียมเกลือของสารประกอบแคลเซียม โดยจะต้องไม่รวมกับ เกลือของสารประกอบ ในรูปซัลเฟต ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการตกตะกอนในรูป แคลเซียม ซัลเฟต ซึ่งจะมีผลทำให้พืชขาดธาตุแคลเซียมและกำมะถัน
5. ในการจัดการถังเก็บสารละลายที่ไหลเวียนในระบบ จะต้องทำการตรวจสอบ ค่าความเป็นกรดด่าง(พีเอช)ของสารละลายที่เตรียมสมบูรณ์แล้วโดยคิดปรับค่าความเป็นด่างด้วย กรดเข้มข้นในรูปกรดกำมะถัน, กรดเกลือหรือกรดไนตริก ลดค่าความเป็นกรดเกินไปของสารละลายด้วยด่างเข้มข้น (โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ หรือ โซเดียมไฮดอกไซด์(โซดาไฟ)
6. ปล่อยให้มีการไหลเวียนของสารละลายในระบบกับถังเก็บสารละลายในช่วง 30-60 นาที จากนั้นจึงทำการตรวจสอบความเป็นกรด ด่างอีกครั้งและปรับให้อยู่ที่ 6.0
7. เติมธาตุอาหารเสริมที่เหลือจนครบตามสูตร
8. ปรับค่าการนำไฟฟ้า (EC) ให้เหมาะสมกับสูตรที่กำหนดไว้สำหรับนำไปใช้ในแต่ละพืช ในแต่ละช่วงอายุ
No comments:
Post a Comment