เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
1) ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณมาก (Macronutrient elements) ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ กำมะถัน
2) ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณน้อย (Micronutrient elements) ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน
อาการขาดธาตุอาหารและอาการเป็นพิษจากการได้รับมากเกิน
1) ไนโตรเจน
อาการขาด : การเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก และใบมีสีเหลืองซีดจากการขาดคลอโรฟิลล์ โดยเฉพาะบริเวณใบแก่ ใบอ่อนจะยังคงมีสีเขียวนานกว่า ในพืชพวกข้าวโพดและมะเขือเทศ ลำต้น ก้านใบ ผิวใบด้านล่างเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้
อาการเป็นพิษ : พืชมีสีเขียวเข้มร่วมกับอาการเฝือใบ ระบบรากถูกจำกัด ในมันฝรั่งจะมีหัวเล็กลง การออกดอกออกผลของพืชจะช้าลง (พืชแก่ช้า)
2) ฟอสฟอรัส
อาการขาด : พืชจะแคระแกร็นและมีสีเขียวเข้ม มีการสะสมสารสีของแอนโทไซยานิน อาการขาดเบื้องต้นจะเกิดในใบแก่และทำห้พืชแก่ช้า
อาการเป็นพิษ : บางครั้งอาการที่ปรากฏจะคล้ายกับอาการขาดธาตุทองแดงและสังกะสี หากได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป
3) โพแทสเซียม
อาการขาด : ในเบื้องต้นสังเกตได้ที่ใบแก่ในพืชใบเลี้ยงคู่ ใบจะมีสีซีด ในระยะต่อมาจะพบจุดสีเข้มที่เนื้อใบตายกระจายเป็นจุด ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหลายชนิดบริเวณปลายใบและ
เส้นใบ จะตายก่อน อาการขาดโพแทสเซียมในข้าวโพด ลำต้นจะอ่อนแอ
อาการเป็นพิษ : เนื่องจากพืชมักจะดูดใช้โพแทสเซียมมากเกินไป ในส้ม ผลส้มจะมีผิวหยาบ เมื่อพืชดูดใช้โพแทสเซียมที่มากเกินไปจะชักนำให้พืชมีอาการขาดแมกนีเซียมและ เป็นไปได้ว่าจะขาดแมงกานีส, สังกะสี และเหล็ก
4) กำมะถัน
อาการขาด : ไม่ค่อยจะพบมากนัก แต่ถ้าเกิดอาการขาดโดยทั่วไปใบมักจะมีสีเหลือง โดยเกิดที่ใบอ่อนก่อน
อาการเป็นพิษ : ลดการเจริญเติบโตและขนาดของใบ ซึ่งยากต่อการสังเกต บางครั้งพบว่าใบเหลืองหรือใบไหม้
5) แมกนีเซียม
อาการขาด : เกิดอาการซีดในพื้นที่ใบที่อยู่ระหว่างเส้นใบ ในขณะที่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ อาการซีดจะเกิดที่ใบพื้นที่บริเวณใกล้เส้นกลางใบก่อนแล้วลามไปที่ปลายใบ โดยเกิดใน ใบแก่ก่อน
อาการเป็นพิษ : มีข้อมูลน้อยมาก เนื่องจากยากต่อการสังเกต
6) แคลเซียม
อาการขาด : การพัฒนาของตายอดจะชะงักการเจริญเติบโต และปลายรากจะตาย จะเกิดในใบอ่อนก่อนใบแก่ และเส้นใบจะบิดเบี้ยว มีจุดแห้งตายของใบ
อาการเป็นพิษ : ยากต่อการสังเกต มักเป็นร่วมกันกับอาการเป็นพิษจากคาร์บอเนต
7) เหล็ก
อาการขาด : อาการซีดคล้ายกับอาการขาดแมกนีเซียมแต่เกิดขึ้นในใบแก่
อาการเป็นพิษ : ในสภาพธรรมชาติมักไม่พบชัดเจนนักแต่เมื่อมีการพ่นเหล็กกับพืชทดลองว่าปรากฏเป็นเนื้อเยื่อมีลายเป็นจุด ๆ
8) คลอรีน
อาการขาด : ใบมีอาการเหี่ยวแล้วค่อย ๆเหลืองแล้วตายเป็นลำดับหรือบางครั้งมีสีบรอนด์เงินรากจะค่อยแคระแกรนและบางลงใกล้ปลายราก
อาการเป็นพิษ : ปลายใบหลังเส้นใบไหม้ เป็นสีบรอนด์ ใบเหลืองและใบร่วงและลางครั่งซีด ขนาดใบเล็กลงอัตราการเจริญเติบโตลดลง
9) แมงกานีส
อาการขาด : อาการแรกมักจะซีดตรงระหว่างเส้นใบในใบอ่อนหรือแก่ขึ้นอยู่กับชนิดพืชแผลเนื้อเยื่อตายและใบร่วงในเวลาต่อมา คลอโรพลาสต์ไม่ทำงาน
อาการเป็นพิษ : บางครั้งมีสีซีดๆ อาการคล้ายกับขาดธาตุเหล็กในสับปะรด คือ คลอโรฟิลล์ไม่กระจายตัวการเจริญเติบโตลดลง
10) โบรอน
อาการขาด : อาการผันแปรตามชนิดของพืชลำต้นเนื้อเยื่อเจริญปลายรากมักตาย ปลายรากมักบวมมีสีซีดในเนื้อเยื่อพืชมักมีสีซีดไม่ทำงาน(โรคใบเน่าของพีท) ส่วนใบแสดงอาการต่าง ไปประกอบด้วยใบบาง แตกง่าย(ผุ)ใบหงิก เหี่ยวเฉาและเป็นจุดสีซีด
อาการเป็นพิษ : ปลายใบเหลืองตามด้วยเนื้อเยื่อใบตายจากปลายใบหรือเส้นใบไปยังแกนใบ
11) สังกะสี
อาการขาด : ข้อปล้องของพืชสั้นและขนาดของใบเล็ก เส้นใบมักปิดหรือย่นบางครั้งซีดระหว่างใบ
อาการเป็นพิษ : เกิดอาการซีดจากเหล็กเป็นพิษในพืช
12) ทองแดง
อาการขาด : การขาดทองแดงในสภาพธรรมชาติหายากใบอ่อนมีสีเขียวแก่และปิดหรือผิดรูปไปและมักพบจุดแผลตายบนใบ
อาการเป็นพิษ : การเจริญเติบโตลดลงตามด้วยสีซีดจากเหล็กเป็นพิษ แคระแกรน ลดการแตกพุ่ม รากมีสีเข้ม และยางผิดปกติ
13) โมลิดีนัม
อาการขาด : สีซีดในพื้นที่ระหว่างเส้นกลางใบหรือทั้งเส้นกลางใบในใบแก่ คล้ายกับอาการขาดไนโตรเจนบางครั้งแกนใบไหม้เกรียม
อาการเป็นพิษ : ยากต่อการสังเกตใบมะเขือเทศจะมีสีเหลืองทอง กล้ากะหล่ำดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงสด
No comments:
Post a Comment