Friday, April 25, 2008

ปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์สำเร็จรูปของมูลนิธิโครงการหลวง

1. ​สารละลายสำ​เร็จรูปสำ​หรับปลูกผักหลังบ้าน
​สารละลายไฮโดรโพนิคส์สำ​เร็จรูปสำ​หรับปลูกผักหลังบ้านทางโครงการหลวง​ได้​จัดจำ​หน่าย​ใน​ชื่อ​ ​ดอยคำ​-1 ​และ​ดอยคำ​-2 ​เป็น​สารละลายที่นำ​ไป​ใช้​ปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์หลังบ้าน​ได้​อย่างง่าย​และ​มี​ความ​ปลอดภัย​ ​ที่​ได้​วิจัยมา​แล้ว​เป็น​เวลาหลายปี​ ​โดย​การ​ใช้​ต้อง​มี​เทคนิคการผสมสารละลายดังนี้
​นำ​สารละลายไฮโดรโพนิคส์​ ​สูตรดอยคำ​ – 1 ​จำ​นวน​ 1 ​ส่วน​ ​ผสม​กับ​สารละลายปุ๋ย​ ​สูตรดอยคำ​ – 2 ​จำ​นวน​ 1 ​ส่วน​ ​แล้ว​เติมน้ำ​ใสสะอาด​ ​จำ​นวน​ 120 ​ส่วน​ ​(​จะ​ได้​ค่า​ EC ​ประมาณ​ 1.3 mS/cm) ​แล้ว​นำ​ไปปลูกพืช​ได้​ทันที
​ข้อแนะนำ​ ​ควรเก็บรักษา​ให้​มิดชิดเก็บ​ใน​ที่ร่ม​และ​แห้ง​ ​ส่วน​ผสมของสารละลายขณะปลูกควรมีอุณหภูมิ​ไม่​เกิน​ 29 0​ซ​ ​และ​ควรเติมสารละลายปุ๋ยที่ผสม​แล้ว​ทุก​ ​ๆ​ 3 ​วัน​ ​หรือ​เมื่อพืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร​ (เพื่อรักษาระดับ​ความ​เข้มข้นของธาตุอาหาร​ใน​สารละลาย)

2. ​ปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์สำ​หรับระบบการค้า
​ปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์สำ​เร็จรูปที่ทำ​ออกมา​ใน​รูปการค้าระบบ​ใหญ่ๆ​ ​ส่วน​มากมัก​อยู่​ใน​รูปผง​ ​โดย​ทางโครงการหลวง​ได้​จัดทำ​ปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์มาจำ​หน่ายสำ​หรับเกษตรกรที่​ต้อง​การผลิตพืชไฮโดรโพนิคส์​เป็น​การค้า​ ​ซึ่ง​ได้​มีการวิจัย​และ​ทดลองสูตรมา​แล้ว​เป็น​เวลาหลายปี​ ​ปุ๋ย​จะ​แยกออก​เป็น​ ​ปุ๋ยสูตร​ A (แบ่ง​เป็น​ 4 ​ถุงย่อย) ​และ​ปุ๋ยสูตร​ B (แบ่ง​เป็น​ 7 ​ถุงย่อยขนาด​เล็ก​มีหลากสี)

วิธีการผสมปุ๋ย
1. ​แบ่ง​เป็น​ 2 ​ถัง​ ​ใส่​น้ำ​ถังละ​ 50 ​ลิตร
2. ​ผสมปุ๋ยสูตร​ A ​กับ​น้ำ​ 50 ​ลิตร​ ​คน​ให้​ละลาย​เข้า​กัน​อย่างช้า​ ​ๆ​ ​โดย​ให้​ละลายหมดทีละถุง​จึง​ใส่​ถุงต่อไป​
3. ​ผสมปุ๋ยสูตร​ B ​โดย​ต้อง​ทำ​ให้​ปุ๋ยแต่ละตัวละลายน้ำ​ให้​หมดก่อนผสม​ทั้ง​หมด​เข้า​ด้วย​กัน​ใน​น้ำ​สะอาด​ ​โดย​ให้​ปริมาตรน้ำ​ของถัง​ B ​มีปริมาตรสุดท้าย​ไม่​เกิน​ 50 ​ลิตร
4. ​ได้​สารละลายปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์​ทั้ง​หมด​ 2 ​ถัง​ ​คือ​ ​ถังสูตร​ A ​จำ​นวน​ 50 ​ลิตร​ ​และ​ถังสูตร​ B ​จำ​นวน​ 50 ​ลิตร

​การนำ​มา​ใช้​ ​สำ​หรับผักกินใบ​ ​ได้​แก่​ ​ผักสลัด​ ​คะน้า​ ​กวางตุ้ง​ ​และ​อื่นๆ​ ​ใช้​ปุ๋ยสูตร​ A ​และ​สูตร​ B ​อัตรา​ส่วน​ 1 ​ต่อ​ 1 ​ผสมน้ำ​อย่างต่ำ​ 100 ​เท่า​ ​แล้ว​วัดค่า​ EC ​ปรับค่า​ EC ​ของสารละลาย​เป็น​ 1.3 ​(​ถ้า​ EC ​สูงเติมน้ำ​เพิ่ม) ​สำ​หรับผักกินผล​ ​ได้​แก่​ ​พริกหวาน​ ​มะ​เขือเทศ​ ​แตงกวา​ ​ใช้​ปุ๋ยสูตร​ A ​และ​สูตร​ B ​ตามสัด​ส่วน​และ​ความ​เข้มข้นของสารละลาย​ (ค่า​ EC) ​ที่กำ​หนดสำ​หรับการเจริญเติบโตของพืชแต่ละช่วง​ ​ดังที่​แสดง​ใน​ตารางด้านล่าง

ตาราง​ ​อัตราการผสมสัด​ส่วน​ปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์ของมูลนิธิ​โครงการหลวง​ใน​ระยะการเจริญเติบโตของผักผล

สารละลายมาตรฐาน​
ระยะการเจริญเติบโต
ระยะต้นกล้า​
ระยะออกดอก
ระยะ​เป็น​ผล
สารละลาย​ A
​สารละลาย​ B
​ค่า​ EC (mS/cm)
​ค่า​ pH
1.0 *A
1.0 *B
1.4
6.0
1.3 *A
1.0 *B
1.8
6.0
1.7 *A
1.0 *B
2.4
6.0

*A = ​ปุ๋ยสูตร​ A, *B = ​ปุ๋ยสูตร​ B

ความ​ผิดปกติของพืช​ ​โรค​ ​แมลง​ ​และ​การป้อง​กัน​กำ​จัด

1. ​ความ​ผิดปกติทางกายภาพที่​เกิด​กับ​พืช
การปลูกไฮโดรโพนิคส์​จะ​มีข้อดีหลายอย่าง​ใน​ขณะ​เดียว​กัน​ก็​ไม่​มีหลักประ​กัน​ว่าการผลิต​ในระบบ
​นี้​จะ​ได้​ผลผลิต​ ​ที่ดีทุกต้น​ ​ความ​ผิดปกติทางกายภาพ​ใน​รูปร่างต่างๆ​ ​ของผลผลิต​ยัง​คง​ ​เกิดขึ้น​ ​ซึ่ง​มีผลต่อ​
​คุณภาพของผลผลิตที่​ได้​ ​สิ่งเหล่านี้อาจเกิดขึ้น​จาก​ผลของอุณหภูมิที่​ไม่​สามารถ​ควบคุม​ได้​ความ​ไม่​สมดุล​
​ของธาตุอาหารพืช​ ​ระบบการ​ให้​น้ำ​ที่​ไม่​เหมาะสม​ ​สายพันธุ์ของพืชที่​ ​มี​ความ​อ่อนแอ​จะ​มีผลทำ​ให้​ผลผลิต
​มีรูปทรงที่ผิดปกติ​ไป​เนื่อง​จาก​ว่าพืชไฮโดรโพนิคส์ที่มีปัญหา​ส่วน​ใหญ่​จะ​เกิด​ใน​พืชตระกูลมะ​เขือเทศ​และ
​พืชตระกูลแตง​ ​ความ​ผิดปกติของพืชเหล่านี้​ ​เช่น​

1.1 Blossom-end-rot ​ปลายผลเน่าดำ
1.2 Fruit cracking ​ผลแตก
1.3 Blotchy ripening ​รอยจุดบนผล​
1.4 Green shoulder, sunscald (มะ​เขือเทศ)
1.5 Roughness ​และ​ Catfacing ​เหี่ยว​เป็น​วงรอบผล​ ​และ​รูปร่างผลผิดปกติ​ ​ผิวตะปุ่มตะปั่ม
1.6 Crooking (แตงกวา) ​ผลแตงโค้งงอ​

2. ​โรค​และ​แมลง
2.1 ​โรคทางน้ำ​ที่สำ​คัญ​ใน​ระบบไฮโดรโพนิคส์​ ​สา​เหตุมา​จาก​เชื้อ​
1) ​พิ​เทียม​ (Pythium)
2) ​ไฟทอปเทอรา​ (Phytopthera)
3) ​ฟูซา​เรียม​ (Fusarium)
2.2 ​แมลงศัตรูพืชที่พบ​ใน​การปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์​ ​ได้​แก่​ ​แมลงหวี่ขาว​ ​ไรแดงสองจุด

(red spider mites) ​เพลี้ยอ่อน​ (Aphids) ​ศัตรูพืช​ใน​ระบบไฮโดรโพนิคส์จัดว่าน้อย​ ​เมื่อเทียบ​กับ​การปลูกพืช​ ​ใน​ดิน​เป็น​ผลมา​จาก​การปลูก​ใน​ระบบไฮโดรโพนิคส์​ ​สามารถ​ทำ​ความ​สะอาดฆ่า​เชื้อโรค
ใน​วัสดุปลูก​ ​และ
​ระหว่างการปลูก​ได้​ ​ทำ​ให้​เกิดการสะสมของโรค​และ​ศัตรูพืช​อื่น​น้อยแต่หากจัดการไ
ม่​เหมาะสมการ
​ระบาดรุนแรงก็​เกิดขึ้น​ได้​เช่นเดียว​กัน


3. ​การป้อง​กัน​กำ​จัดโรคทางน้ำ​ใน​ระบบไฮโดรโพนิคส์
1. ​การ​ใช้​เทคนิควิธีการป้อง​กัน​กำ​จัดโรค
- ​ใช้​ความ​ร้อน​ใน​การฆ่า​เชื้อประมาณ​ 70 -80 ​องศา​เซลเซียส​ ​นาน​ 5 – 10 ​นาที
- ​ใช้​ช่วงแสงยูวีที่​ 253 ​นา​โนเมตร​ (UV-C)
- ​การกรอง
- ​ใช้​โอโซน​ ​เปิดเครื่อง​ 3 – 6 ​รอบต่อวัน​ ​รอบละ​ 30 ​นาที​ ​ฆ่า​เชื้อที่มี​ใน​น้ำ​

2. ​การ​ใช้​สารเคมี​
- ​ใช้​โพแทสเซียมซิลิ​เกตที่ระดับของ​ความ​เข้มข้น​ 100 -200 ​ส่วน​ต่อล้าน​ใส่​ใน​สารละลาย
​อาหารพืชเพื่อกำ​จัดเชื้อพิ​เทียม
- ​ใช้​โซเดียมไฮโปคลอไรด์​ (Sodium Hypochlorite) ​ที่ระดับ​ความ​เข้มข้น​ 5 ​ส่วน​ต่อล้าน
นาน​ 15 ​นาที​ ​ทิ้ง​ไว้​ 24 ​ชั่วโมง​ ​ก่อนเริ่มปลูกพืช​ ​เพื่อกำ​จัดเชื้อพิ​เทียม​ ​ไฟทอปเทอรา​ ​และ​ฟูซา​เรียม
- ​ใช้​สารเบนเลท​ ​โอดี​ (Beromyl) ​หรือ​ ​เมททา​แลคซิล​ (Melalaxyl) ​ที่ระดับ​ความ​เข้มข้น​ 5
​ส่วน​ต่อล้าน​ ​เพื่อกำ​จัดเชื้อพิ​เทียม
- ​ใช้​สารไอโอดิน​ (Iodine) ​ที่ระดับ​ความ​เข้มข้น​ 0.7​ส่วน​ต่อล้าน​ ​เพื่อกำ​จัดเชื้อฟูซา​เรียม
- ​ใช้​สารไฮโปคลอไรด์​ (H2O2) ​ที่ระดับ​ความ​เข้มข้น​ 100 ​ส่วน​ต่อล้าน​ ​เพื่อกำ​จัดเชื้อ
​ฟูซา​เรียม
- ​ใช้​สารไคโตซาน​ (Chitosan) ​ที่ระดับ​ความ​เข้มข้น​ 100-400 ​ส่วน​ต่อล้าน​ ​เพื่อกำ​จัดเชื้อ
​พิ​เทียม

การเพาะกล้าในการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์

1. ​การเพาะกล้าสำ​หรับการปลูกพืช​ใน​สารละลาย​ (Water Culture)
นำ​แผ่นฟองน้ำ​หนาประมาณ​ 1 ​นิ้ว​ ​มาตัด​ให้​ได้​ขนาด​ความ​กว้าง​และ​ความ​ยาวพอดี​กับ​ถาดที่​จะ​ใช้​เพาะกล้า​ (ถาดพลาสติก) ​ใช้​ใบมีดกรีดบนฟองน้ำ​ให้​เป็น​ตารางขนาดประมาณ​ 1 ​ตารางนิ้ว​ ​โดย​ไม่​ให้​ฟองขาดออก​กัน​ ​แล้ว​ทำ​รอยบากทแยงตรงมุมของตาราง​ ​ให้​ลึกลงไปพอหยอดเมล็ดพืช​ได้​ ​นำ​ฟองน้ำ​ที่กรีด​เป็น​ช่อง​แล้ว​ไปแช่น้ำ​ก่อนทำ​การหยอดเมล็ดหยอดเมล็ดลง​ใน​ ​ช่อง​ ​ที่ทำ​การบาก​ไว้​ ​นำ​ฟองน้ำ​ที่​เพาะ​เมล็ด​แล้ว​ใส่​ใน​ถาดเพาะกล้าที่มีสารละลายปุ๋ยที่​เจือจาง​ ​และ​ควรเก็บ​ใน​ที่ทึบแสงประมาณ​ 5 ​วัน​ ​เพื่อป้อง​กัน​สาหร่ายเจริญเติบโตเมื่อเมล็ดเริ่มงอก​ให้​นำ​ถาด​ ​เพาะออกมา​ให้​ได้​รับแสงเพื่อป้อง​กัน​การยืดของกล้า​ ​เมื่อกล้ามี​ใบจริง​ 2-3 ​ใบ​ ​จึง​ย้ายปลูก​

การเพาะกล้า​และ​ต้นกล้าพร้อมปลูก​ใน​ระบบไฮโดรโพนิคส์

2. ​การเพาะกล้าสำ​หรับการปลูกพืช​ใน​วัสดุปลูก​ (Substrate Culture)
การปลูกพืช​ใน​วัสดุปลูก​ส่วน​ใหญ่​จะ​นิยมปลูกพืชกินผล​ ​เช่น​ ​พริกหวาน​ ​มะ​เขือเทศ​ ​แตงกวา​ ​แตงเมลอน​ ​ฯลฯ​ ​โดย​มีวิธีทำ​ลายการพักตัวของเมล็ดพวกนี้​ ​คือ​ ​การนำ​เมล็ดพันธุ์พืชไปแช่​ใน​ ​สารละลายโพแทสเซียมไนเตรท​ (KNO3) ​เข้มข้น​ 3% (KNO3 3 ​กรัมต่อน้ำ​ 1 ​ลิตร) ​หรือ​น้ำ​อุ่นนาน​ 30 ​นาที​ (น้ำ​ร้อนต่อน้ำ​เย็น​ 1 : 2) ​แล้ว​นำ​เมล็ดที่​แช่​ไว้​ไปบ่ม​ใน​ที่ชื้น​ ​นาน​ 3-4 ​วัน​ ​ใน​ที่มืด​ ​สังเกตว่ามีราก​จึง​นำ​มา​เพาะ​ใน​กระบะ​เพาะกล้า​ ​เมื่อเมล็ดงอก​จึง​ย้ายปลูก​ใน​ถาดเพาะ​เพื่อ​ความ​สม่ำ​เสมอนาน​ 20-25 ​วัน​ ​แล้ว​จึง​ย้ายไปลงถุงปลูก​ ​เพื่อเพิ่ม​ความ​แข็งแรงของต้นกล้านาน​ 10 ​วัน​ ​แล้ว​จึง​นำ​ไปปลูกต่อไป

การเพาะกล้าสำ​หรับการปลูกพืช​ใน​วัสดุปลูก

สารละลายสำ​รับการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส

1. ​หลักการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
1.1 ​หลักการเลือก​ใช้​ปุ๋ย​หรือ​สารเคมี​ ​ใน​การปลูกพืช​โดย​ใช้​ระบบไฮโดรโพนิคส์​ ​มี​ความ​จำ​เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ให้​ธาตุอาหาร​ใน​รูปของสารละลายแก่พืช​ ​จึง​ต้อง​ใช้​ปุ๋ยที่มีการละลายน้ำ​ดีมา​ ​ละลายน้ำ​ใน​สัด​ส่วน​ที่​เหมาะสม​ ​หลัก​ใน​การเลือก​ใช้​สารเคมีที่​เหมาะสมมีปัจจัยที่​เกี่ยวข้องดังนี้
- ​ความ​บริสุทธิ์ของปุ๋ย​หรือ​สารเคมี​
- ​ความ​สามารถ​ใน​การละลายน้ำ​ของสารเคมี
- ​ราคาของปุ๋ย​หรือ​สารเคมี
1.2 ​คุณภาพของน้ำ​ที่​ใช้​เตรียมสารละลาย​ ​คุณภาพน้ำ​มาตรฐานที่​เหมาะสมสำ​หรับเตรียมสารละลาย​เป็น​ดังนี้​

ส่วน​ประกอบทางเคมี​
คุณภาพน้ำ
ความ​เป็น​กรดด่าง​ (pH)
​ค่าการนำ​ไฟฟ้า​ (EC) (mS/cm)
​ไนเตรท​ NO3– -N ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​แอมโมเนียม​ (NH4+) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​ฟอสเฟต​ (PO4-3 – P) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​โพแทเซียม​ (K) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​แคลเซียม​ (Ca) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​แมกนี​เซียม​ (Mg) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​ซัลเฟต​ (SO4-2 – S) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​เหล็ก​ (Fe) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​โบรอน​ (B) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​สังกะสี​ (Zn) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​ทองแดง​ (Cu) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​แมงกานีส​ (Mn) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​คลอรีน​ (Cl) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)
​โซเดียม​ (Na) ​(​ส่วน​ต่อล้าน)

5 -8
<0.5
​น้อยที่สุด
​น้อยที่สุด
<5
<5
<40
<20
<5
<1
<0.3
<0.5
<0.5
<0.5
<30 – 40
<30

1.3 ​ปัจจัยที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การเตรียมสูตรธาตุอาหารพืช
- ​ชนิด​และ​สายพันธุ์ของพืช
- ​ระยะการเจริญเติบโตของพืช
- ​ส่วน​ของพืชที่​ต้อง​การผลิต​ ​เช่น​ ​ใบ​ ​ราก​ ​ผล​ ​ดอก​ ​ลำ​ต้น
- ​สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการนำ​ธาตุอาหารไป​ใช้​ ​ได้​แก่​ ​ฤดูกาล​หรือ​ความ​ยาวของวันอุณหภูมิ​ ​พืชมีอัตราการหายใจ​และ​การเจริญเติบโตที่​แตกต่าง​กัน​ ​ดัง​นั้น​สูตรอาหารสำ​หรับ​ใน​ ​เขตร้อน​และ​เขตหนาว​จึง​แตกต่าง​กัน​ ​ความ​เข้มของแสง​ ​โดย​จะ​ให้​ความ​เข้มข้นของสารละลายปุ๋ยเพิ่มขึ้น​ 30-50% ​ใน​ช่วงฤดูหนาว​ ​และ​ ​จะ​ลดต่ำ​ลง​ใน​วันที่มี​แสงแดด​

2. ​ขั้นตอนการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชไฮโดรโพนิคส์
วิธี​เตรียม​จะ​มีขั้นตอนต่างๆ​ ​ดังต่อไปนี้
1. ​ซึ่ง​แม่ปุ๋ย​หรือ​สารเคมีที่​เลือก​ใช้​ตามสูตรที่​ได้​คำ​นวณ​ไว้​ ​โดย​ต้อง​ให้​มี​ความ​แม่นยำ​มากๆ​ (บวกลบ​ไม่​เกิน​ 5%) ​เครื่องชั่งที่​ใช้​ชั่งธาตุหลัก​และ​ธาตุรอง​กับ​ธาตุ​เสริม​ ​จะ​มี​ความ​ละ​เอียด​ ​ที่ต่าง​กัน​ ​โดย​มัก​ใช้​เครื่องชั่ง​ใน​ระดับกรับ​กับ​ธาตุ​เสริม​ ​และ​จะ​ใช้​เครื่องชั่งที่มี​ความ​ละ​เอียด​ใน​ระดับร้อยกรัมสำ​หรับการเตรียมธาตุหลัก​และ​ธาตุรอง
2. ​เตรียมถังที่​จะ​ใช้​เป็น​ถังสารละลายเข้มข้น​ (ถังสารละลายสต็อค​ A ​และ​ถังสารละลายสต็อค​ B) ​โดย​เติมน้ำ​ลง​ใน​ถัง​ 10% ​ของปริมาณน้ำ​ทั้ง​หมดที่​จะ​ใช้​เตรียมสารละลายเข้มข้น​ ​โดย​ควร​จะ​ให้​น้ำ​ที่​ใช้​เตรียมมี​ความ​เป็น​กรดด่าง​(พี​เอช)​ที่ต่ำ​กว่า​ 7.0
3. ​ละลายสารเคมี​หรือ​แม่ปุ๋ยที่​จะ​ใช้​เตรียมสารละลายที่ละชนิด​ใน​ถังน้ำ​โดย​คน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนละลาย​ทั้ง​หมดก่อน​จะ​เทลง​ใน​ถังสารละลายเข้มข้น​ (ถังสารละลายสต็อค​ A ​หรือ​ B)
​ทำ​เช่นนี้​ ​จนครบทุกสารเคมี​หรือ​ครบทุกแม่ปุ๋ย​ ​แล้ว​จึง​เติมน้ำ​ให้​มีปริมาตรครบตามที่กำ​หนด
4. ​ใน​การเตรียม​ให้​ละลายธาตุอาหารหลักก่อน​ ​แล้ว​จึง​ตาม​ด้วย​ธาตุอาหารรอง​หรือ​ธาตุอาหารเสริม​ ​แต่​จะ​ต้อง​คำ​นึง​ถึง​การเตรียมเกลือของสารประกอบแคลเซียม​ ​โดย​จะ​ต้อง​ไม่​รวม​กับ​ ​เกลือของสารประกอบ​ ​ใน​รูปซัลเฟต​ ​ทั้ง​นี้​เพื่อหลีกเลี่ยงการตกตะกอน​ใน​รูป​ ​แคลเซียม​ ​ซัลเฟต​ ​ซึ่ง​จะ​มีผลทำ​ให้​พืชขาดธาตุ​แคลเซียม​และ​กำ​มะถัน
5. ​ใน​การจัดการถังเก็บสารละลายที่​ไหลเวียน​ใน​ระบบ​ ​จะ​ต้อง​ทำ​การตรวจสอบ​ ​ค่า​ความ​เป็น​กรดด่าง​(พี​เอช)​ของสารละลายที่​เตรียมสมบูรณ์​แล้ว​โดย​คิดปรับค่า​ความ​เป็น​ด่าง​ด้วย​ ​กรดเข้มข้น​ใน​รูปกรดกำ​มะถัน​, ​กรดเกลือ​หรือ​กรดไนตริก​ ​ลดค่า​ความ​เป็น​กรดเกินไปของสารละลาย​ด้วย​ด่างเข้มข้น​ (โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์​ ​หรือ​ ​โซเดียมไฮดอกไซด์​(โซดา​ไฟ)
6. ​ปล่อย​ให้​มีการไหลเวียนของสารละลาย​ใน​ระบบ​กับ​ถังเก็บสารละลาย​ใน​ช่วง​ 30-60 ​นาที​ ​จาก​นั้น​จึง​ทำ​การตรวจสอบ​ความ​เป็น​กรด​ ​ด่างอีกครั้ง​และ​ปรับ​ให้​อยู่​ที่​ 6.0
7. ​เติมธาตุอาหารเสริมที่​เหลือจนครบตามสูตร
8. ​ปรับค่าการนำ​ไฟฟ้า​ (EC) ​ให้​เหมาะสม​กับ​สูตรที่กำ​หนด​ไว้​สำ​หรับนำ​ไป​ใช้​ใน​แต่ละพืช​ ​ใน​แต่ละช่วงอายุ

ธาตุอาหารพืช​และ​อาการขาด

พืชชั้นสูง​จะ​ได้​รับธาตุคาร์บอน​และ​ออกซิ​เจนเกือบ​ทั้ง​หมดที่พืช​ต้อง​การ​จาก​อากาศ​โดย​ตรง​ ​โดย​คาร์บอน​เข้า​สู่พืช​โดย​ตรง​จาก​ทางปากใบ​ (Stomata) ​ใน​รูปกาซคาร์บอนไดออกไซด์​ (CO2) ​และ​ได้​รับออกซิ​เจน​ใน​รูปกาซออกซิ​เจน​ (O2) ​ทางปากใบ​และ​ที่ผิวของราก​ ​สำ​หรับไฮโดรเจน​นั้น​พืช​ได้​รับไฮโดรเจนอะตอม​จาก​โมเลกุลของน้ำ​ใน​ขบวนการสังเคราะห์​แสง​เนื่อง​จาก​ ​ธาตุ​ทั้ง​ 3 ​มี​อยู่​อย่างเหลือเฟือ​ใน​สภาพธรรมชาติ​ ​จึง​ทำ​ให้​นักวิทยาศาสตร์มี​ความ​สนใจน้อยกว่าธาตุอาหารพืช​อื่นๆ​ ​อีก​ 13 ​ธาตุ​ ​ที่พืช​ได้​รับ​จาก​ดิน​หรือ​กำ​เนิด​จาก​ดิน​ ​เนื่อง​จาก​ปริมาณที่พืช​ได้​ ​รับมัก​ไม่​เพียงพอ​กับ​ความ​ต้อง​การ​ ​โดย​มี​ความ​รุนแรง​ใน​การขาดธาตุอาหารเหล่านี้​แตกต่าง​กัน​ไปตามแต่สภาพของวัตถุต้นกำ​เนิดดิน​ ​และ​สภาพการ​ใช้​พื้นที่​ ​โดย​ธาตุ​ทั้ง​ 13 ​ชนิด​นั้น​จะ​แบ่งออก
​เป็น​ 2 ​กลุ่ม​ใหญ่ๆ​ ​ได้​แก่​
1) ​ธาตุอาหารที่พืช​ต้อง​การ​เป็น​ปริมาณมาก​ (Macronutrient elements) ​ได้​แก่​ ​ไนโตรเจน​ ​ฟอสฟอรัส​ ​โพแทสเซียม​ ​แคลเซียม​ ​แมกนี​เซียม​ ​และ​ ​กำ​มะถัน
2) ​ธาตุอาหารที่พืช​ต้อง​การ​เป็น​ปริมาณน้อย​ (Micronutrient elements) ​ได้​แก่​ ​เหล็ก​ ​สังกะสี​ ​ทองแดง​ ​โบรอน​ ​โมลิบดินัม​ ​และ​คลอรีน

อาการขาดธาตุอาหาร​และ​อาการ​เป็น​พิษ​จาก​การ​ได้​รับมากเกิน
1) ​ไนโตรเจน
​อาการขาด​ : ​การเจริญเติบโต​จะ​หยุดชะงัก​ ​และ​ใบมีสี​เหลืองซีด​จาก​การขาดคลอโรฟิลล์​ ​โดย​เฉพาะบริ​เวณใบแก่​ ​ใบอ่อน​จะ​ยัง​คงมีสี​เขียวนานกว่า​ ​ใน​พืชพวกข้าวโพด​และ​มะ​เขือเทศ​ ​ลำ​ต้น​ ​ก้านใบ​ ​ผิวใบด้านล่างเปลี่ยน​เป็น​สีม่วง​ได้
อาการ​เป็น​พิษ​ : ​พืชมีสี​เขียวเข้มร่วม​กับ​อาการเฝือใบ​ ​ระบบรากถูกจำ​กัด​ ​ใน​มันฝรั่ง​จะ​มีหัว​เล็ก​ลง​ ​การออกดอกออกผลของพืช​จะ​ช้าลง​ (พืชแก่ช้า)

2) ​ฟอสฟอรัส
อาการขาด​ : พืช​จะ​แคระ​แกร็น​และ​มีสี​เขียวเข้ม​ ​มีการสะสมสารสีของแอนโทไซยานิน​ ​อาการขาดเบื้องต้น​จะ​เกิด​ใน​ใบแก่​และ​ทำ​ห้พืชแก่ช้า
อาการ​เป็น​พิษ​ : บางครั้งอาการที่ปรากฏ​จะ​คล้าย​กับ​อาการขาดธาตุทองแดง​และ​สังกะสี​ ​หาก​ได้​รับฟอสฟอรัสมากเกินไป

3) ​โพแทสเซียม
อาการขาด​ : ใน​เบื้องต้นสังเกต​ได้​ที่​ใบแก่​ใน​พืชใบเลี้ยงคู่​ ​ใบ​จะ​มีสีซีด​ ​ใน​ระยะต่อมา​จะ​พบจุดสี​เข้มที่​เนื้อใบตายกระจาย​เป็น​จุด​ ​ใน​พืชใบเลี้ยงเดี่ยวหลายชนิดบริ​เวณปลายใบ​และ
​เส้นใบ​ ​จะ​ตายก่อน​ ​อาการขาดโพแทสเซียม​ใน​ข้าวโพด​ ​ลำ​ต้น​จะ​อ่อนแอ
อาการ​เป็น​พิษ​ : ​เนื่อง​จาก​พืชมัก​จะ​ดูด​ใช้​โพแทสเซียมมากเกินไป​ ​ใน​ส้ม​ ​ผลส้ม​จะ​มีผิวหยาบ​ ​เมื่อพืชดูด​ใช้​โพแทสเซียมที่มากเกินไป​จะ​ชักนำ​ให้​พืชมีอาการขาดแมกนี​เซียม​และ​ ​เป็น​ไป​ได้​ว่า​จะ​ขาดแมงกานีส​, ​สังกะสี​ ​และ​เหล็ก

4) ​กำ​มะถัน
อาการขาด​ : ไม่​ค่อย​จะ​พบมากนัก​ ​แต่​ถ้า​เกิดอาการขาด​โดย​ทั่ว​ไปใบมัก​จะ​มีสี​เหลือง​ ​โดย​เกิดที่​ใบอ่อนก่อน
​อาการ​เป็น​พิษ​ : ​ลดการเจริญเติบโต​และ​ขนาดของใบ​ ​ซึ่ง​ยากต่อการสังเกต​ ​บางครั้งพบว่า​ใบเหลือง​หรือ​ใบไหม้

5) ​แมกนี​เซียม
​อาการขาด​ : เกิดอาการซีด​ใน​พื้นที่​ใบที่​อยู่​ระหว่างเส้นใบ​ ​ใน​ขณะที่​เส้นใบ​ยัง​คงเขียว​อยู่​ ​อาการซีด​จะ​เกิดที่​ใบพื้นที่บริ​เวณ​ใกล้​เส้นกลางใบก่อน​แล้ว​ลามไปที่ปลายใบ​ ​โดย​เกิด​ใน​ ​ใบแก่ก่อน​
​อาการ​เป็น​พิษ​ : ​มีข้อมูลน้อยมาก​ ​เนื่อง​จาก​ยากต่อการสังเกต

6) ​แคลเซียม
อาการขาด​ : ​การพัฒนาของตายอด​จะ​ชะงักการเจริญเติบโต​ ​และ​ปลายราก​จะ​ตาย​ ​จะ​เกิด​ใน​ใบอ่อนก่อนใบแก่​ ​และ​เส้นใบ​จะ​บิดเบี้ยว​ ​มีจุดแห้งตายของใบ
อาการ​เป็น​พิษ​ : ​ยากต่อการสังเกต​ ​มัก​เป็น​ร่วม​กัน​กับ​อาการ​เป็น​พิษ​จาก​คาร์บอเนต

7) ​เหล็ก
​อาการขาด​ : อาการซีดคล้าย​กับ​อาการขาดแมกนี​เซียมแต่​เกิดขึ้น​ใน​ใบแก่
อาการ​เป็น​พิษ​ : ใน​สภาพธรรมชาติมัก​ไม่​พบชัดเจนนักแต่​เมื่อมีการพ่นเหล็ก​กับ​พืชทดลองว่าปรากฏ​เป็น​เนื้อเยื่อมีลาย​เป็น​จุด​ ๆ

8) ​คลอรีน
อาการขาด​ : ใบมีอาการเหี่ยว​แล้ว​ค่อย​ ​ๆ​เหลือง​แล้ว​ตาย​เป็น​ลำ​ดับ​หรือ​บางครั้งมีสีบรอนด์​เงินราก​จะ​ค่อยแคระ​แกรน​และ​บางลง​ใกล้​ปลายราก
อาการ​เป็น​พิษ​ : ปลายใบหลังเส้นใบไหม้​ ​เป็น​สีบรอนด์​ ​ใบเหลือง​และ​ใบร่วง​และ​ลางครั่งซีด​ ​ขนาดใบ​เล็ก​ลงอัตราการเจริญเติบโตลดลง

9) ​แมงกานีส
อาการขาด​ : ​อาการแรกมัก​จะ​ซีดตรงระหว่างเส้นใบ​ใน​ใบอ่อน​หรือ​แก่ขึ้น​อยู่​กับ​ชนิดพืชแผลเนื้อเยื่อตาย​และ​ใบร่วง​ใน​เวลาต่อมา​ ​คลอโรพลาสต์​ไม่​ทำ​งาน
อาการ​เป็น​พิษ​ : บางครั้งมีสีซีดๆ​ ​อาการคล้าย​กับ​ขาดธาตุ​เหล็ก​ใน​สับปะรด​ ​คือ​ ​คลอโรฟิลล์​ไม่​กระจายตัวการเจริญเติบโตลดลง

10) ​โบรอน
​อาการขาด​ : อาการผันแปรตามชนิดของพืชลำ​ต้นเนื้อเยื่อเจริญปลายรากมักตาย​ ​ปลายรากมักบวมมีสีซีด​ใน​เนื้อเยื่อพืชมักมีสีซีด​ไม่​ทำ​งาน​(โรคใบเน่าของพีท) ​ส่วน​ใบแสดงอาการต่าง​ ​ไปประกอบ​ด้วย​ใบบาง​ ​แตกง่าย​(ผุ)​ใบหงิก​ ​เหี่ยวเฉา​และ​เป็น​จุดสีซีด
​อาการ​เป็น​พิษ​ : ปลายใบเหลืองตาม​ด้วย​เนื้อเยื่อใบตาย​จาก​ปลายใบ​หรือ​เส้นใบไป​ยัง​แกนใบ

11) ​สังกะสี
อาการขาด​ : ข้อปล้องของพืชสั้น​และ​ขนาดของใบ​เล็ก​ ​เส้นใบมักปิด​หรือ​ย่นบางครั้งซีดระหว่างใบ
อาการ​เป็น​พิษ​ : เกิดอาการซีด​จาก​เหล็ก​เป็น​พิษ​ใน​พืช

12) ​ทองแดง
อาการขาด​ : การขาดทองแดง​ใน​สภาพธรรมชาติหายากใบอ่อนมีสี​เขียวแก่​และ​ปิด​หรือ​ผิดรูปไป​และ​มักพบจุดแผลตายบนใบ
​อาการ​เป็น​พิษ​ : ​การเจริญเติบโตลดลงตาม​ด้วย​สีซีด​จาก​เหล็ก​เป็น​พิษ​ ​แคระ​แกรน​ ​ลดการแตกพุ่ม​ ​รากมีสี​เข้ม​ ​และ​ยางผิดปกติ

13) ​โมลิดีนัม
อาการขาด​ : ​สีซีด​ใน​พื้นที่ระหว่างเส้นกลางใบ​หรือ​ทั้ง​เส้นกลางใบ​ใน​ใบแก่​ ​คล้าย​กับ​อาการขาดไนโตรเจนบางครั้งแกนใบไหม้​เกรียม
​อาการ​เป็น​พิษ​ : ยากต่อการสังเกตใบมะ​เขือเทศ​จะ​มีสี​เหลืองทอง​ ​กล้ากะหล่ำ​ดอก​จะ​เปลี่ยน​เป็น​สีม่วงสด

ระบบการปลูกพืช​โดย​ไม่​ใช้​ดิน

1. ​การปลูกพืช​ใน​สารละลาย​ (Water Culture)
1.1 ​ระบบเอนเอฟที​ : ​การ​ให้​สารละลายไหลผ่านรากพืช​เป็น​แผ่นบางๆ​ (Nutrient Film Technique, NFT)​เป็น​เทคนิคที่​ได้​รับ​ความ​สนใจอย่างมาก​เป็น​การปลูกพืช​โดย​ให้​รากแช่​อยู่​ใน​สาร​ ​ละลาย​โดย​ตรงสารละลาย​จะ​ไหลผ่านรากพืช​เป็น​แผ่นฟิล์มบางๆ​ ​(​โดย​ทั่ว​ไปมักกำ​หนด​ให้​น้ำ​ที่​ไหลผ่านมี​ความ​หนาประมาณ​ 2-3 ​มิลลิ​เมตร) ​สารละลายจไหลหมุนเวียนผ่านรากตลอดเวลา
​ระบบ​ ​เอนเอฟที​สามารถ​แบ่ง​ได้​เป็น​การปลูก​ใน​ราง​ ​ปลูก​ใน​ร่อง​ ​ปลูก​ใน​ท่อ​

การปลูกพืช​ใน​ระบบเอนเอฟทีที่​ใช้​รางรูปแบบต่างๆ​ ​ที่ทำ​เป็น​การค้าการปลูกพืช​ใน​ระบบเอนเอฟทีที่​เป็น​การค้า​

การปลูกพืช​ใน​ระบบเอนเอฟทีที่​แบบประยุกต์​โดย
​ใช้​รางที่ทำ​จาก​ลอนกระ​เบื้องมุงหลังคาที่​ใช้​ ​ผลิตผักไฮโดรโพนิคส์ศูนย์วิจัยพืชผักโครงการหลวง
​หนองหอย

การปลูกพืช​ใน​ระบบเอนเอฟที​แบบ​เป็น​ร่อง
​โดย​ไม่​ยกพื้น

การปลูกพืช​ใน​ระบบเอนเอฟทีที่​ใช้​ท่อที่ศูนย์
​พัฒนา​โครงการหลวงหนองหอย​และ​อ่างขาง​

การปลูกพืช​ใน​ระบบเอนเอฟทีที่​ใช้​ท่อพีวีซี
​ขนาด​เล็ก​ใช้​ปลูกหลังบ้าน​

1.2 ​ระบบดี​เอฟที​ (Deep Floating Technique, DFT) ​เป็น​ระบบที่ปลูกพืช​โดย​รากแช่​อยู่​ใน​สารละลายลึกประมาณ​ 15- 20 ​เซนติ​เมตร​ ​โดย​จะ​มีการปลูกพืชบนแผ่นโฟม​หรือ​วัสดุที่ลอยน้ำ​ ​ได้​เพื่อยึดลำ​ต้นแต่​จะ​ปล่อย​ให้​ราก​เป็น​อิสระ​ใน​นำ​ ​ระบบนี้​ไม่​มี​ความ​ลาดเอียง​ ​เป็น​ระบบที่มีการหมุนเวียนสารละลาย​โดย​การ​ใช้​ปั้มดูดสารละลาย​จาก​ถังพักขึ้นมา​ใช้​ใหม่​ใน​ระบบ​ ​เพื่อ​ให้​เกิดการ​ ​หมุนเวียน​โดย​มีวัตถุประสงค์​เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิ​เจน​ให้​กับ​ระบบน้ำ​ที่​ใช้​ใน​การผลิตผัก​ ​ระบบนี้อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า​ ​ระบบไฮโดรโพนิคส์ลอยน้ำ​ (Floating Hydroponic Systems)


ระบบดี​เอฟที​ ปลูกผัก​ใน​พื้นที่ของศูนย์พัฒนา​โครงการหลวงอินทนนท์​ ​อ่างขาง​และ​หนองหอย

1.3 ​ระบบดีอาร์​เอฟ​ (Dynamic Root Floating) ​เป็น​ระบบการปลูกพืชที่พัฒนามา​จาก​ระบบของ​ ​ดร​.​เกอริค​ (Prof. Dr.William F.Gericke) ​ที่​เน้นการปลูกพืช​ให้​รากพืชแช่​อยู่​ใน​น้ำ​ส่วน​ ​หนึ่ง​และ​อีก​ส่วน​หนึ่งสร้างรากอากาศ​ ​เพื่อ​ช่วย​ใน​การหายใจ​ ​โดย​จะ​ทำ​ให้​พืชที่ปลูก​ใน​ระบบนี้​ ​สามารถ​เจริญ​ได้​ใน​อุณหภูมิของสารละลายที่สูงมากกว่าระบบ​อื่นๆ​ ​ได้​ดี​ ​ดร​.​เกา​ (Kao Te Chen) ​นักวิจัย​และ​พัฒนาระบบไฮโดรโพนิคส์​ ​ชาวไต้หวัน​ ​ได้​พัฒนาระบบของ​ ​ดร​.​เกอริค​ ​โดย​เพิ่มระบบท่อรับน้ำ​ใน​กระบะ​ ​ที่​ช่วย​ให้​ระดับน้ำ​สูงขึ้น​หรือ​ลดลง​ได้​ตาม​ความ​ต้อง​การของพืช​ ​โดย​ ​ดร​.​เกา​ ​ได้​กำ​หนด​ให้​ระดับน้ำ​ควรสูงเพียงพอที่​จะ​ทำ​ให้​ ​รากพืชแช่​อยู่​ใน​น้ำ​ได้​ ​ประมาณ​ 4 ​เซนติ​เมตร​ ​โดย​ราก​ส่วน​นี้​ ​จะ​เป็น​รากที่ดูดอาหาร​ (Nutrient root) ​และ​ราก​ส่วน​เหนือ​จาก​นี้​จะ​เป็น​รากที่หายใจ​ ​และ​ดูดออกซิ​เจน​เข้า​สู่ราก​ ​จึง​เรียกราก​ส่วน​นี้ว่า​ ​รากอากาศ​ (Aero root) ​ดัง​นั้น​ระบบดีอาร์​เอฟก็คือระบบที่​สามารถ​ปรับ​ความ​สูงต่ำ​ของน้ำ​ใน​กระบะปลูก​ได้​ตาม​ความ​ต้อง​การ​ ​ของรากพืชแต่ละ​ ​ชนิด​และ​เพื่อ​ให้​รากพืชลอย​อยู่​ใน​น้ำ​ใน​ระดับเพียง​ 4 ​เซนติ​เมตร​ ​ระบบดีอาร์​เอฟ​ได้​มีการพัฒนาหลายครั้ง​ ​และ​ปัจจุบัน​ได้​จดสิทธิบัตร​ใน​ไต้หวัน​ ​โดย​ระบบดังกล่าว​ได้​ ​แบ่ง​เป็น​ 2 ​ระบบย่อยๆ​ ​ได้​แก่
1.3.1 ​ระบบปรับลดระดับสารละลาย ​เป็น​แบบที่ปล่อย​ให้​รากจม​อยู่​ใน​น้ำ​ลึก​ใน​ระยะ​แรก​ ​แล้ว​ค่อยลดระดับน้ำ​ลง​จาก​ระดับแรกที่สูงประมาณ​ 8 ​ซม​. ​เหลือ​ 4 ​ซม​.
1.3.2 ​ระบบเออาร์​-​ดีอาร์​เอฟ ​เป็น​การปลูกพืช​โดย​ให้​รากพืชคร่อมบนสันของถาดปลูกที่ออกแบบมา​โดย​เฉพาะ​ ​แล้ว​ปล่อยสารละลายไปตามแนวด้านข้าง​

ข้อดีของระบบ​ ​ดีอาร์​เอฟ​ (DRF)
​ผลผลิตของผักที่ปลูก​ใน​ระบบดีอาร์​เอฟ​ (DRF) ​จะ​มี​ความ​สม่ำ​เสมอตลอด​ทั้ง​ปี​ ​ใน​ทุกสภาพอากาศ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ช่วงอุณหภูมิที่สูง​หรือ​ต่ำ​ ​ซึ่ง​ใน​สภาพอากาศที่ร้อน​ ​เช่น​ ​ประ​เทศไทยการปลูกพืช​ใน​สารละลายมักมีปัญหาปริมาณออกซิ​เจน​ใน​สารละลายมีน้อย​ ​แต่​เนื่อง​จาก​ระบบดีอาร์​เอฟพืชที่ปลูก​จะ​มีการพัฒนาของรากบาง​ส่วน​ไป​เป็น​รากอากาศ​ ​ทำ​ให้​พืชที่​ ​ปลูก​สามารถ​ได้​รับออกซิ​เจนที่​เพียงพอ​ ​ทำ​ให้​ได้​ผลผลิตสูง​ ​ซึ่ง​เป็น​ระบบที่​เหมาะสม​ใน​เขตอบอุ่น​และ​เขตร้อน​ ​ซึ่ง​ได้​แสดง​ไว้​ใน​ภาพที่​ 24 ​และ​ 25

​การปลูกพืช​ใน​ระบบเออาร์​-​ดีอาร์​เอฟ

การปลูกผักกินผล​ ​เช่น​ ​แตงเมลอน​ ​มะ​เขือเทศ​ ​แตงกวา​ใน​น้ำ​โดย​ตรง​ใน​ระบบดีอาร์​เอฟ

2. ​การปลูกพืช​ใน​วัสดุปลูก​ (Substrate Culture)
​เป็น​วิธีการปลูกพืช​โดย​ใช้​วัสดุปลูกชนิดต่างๆ​ ​ทั้ง​ที่​เป็น​อินทรีย์​และ​อนินทรีย์ต่างๆ​ ​ได้​แก่​ ​ทราย​ ​กรวด​ ​ขี้​เลื่อย​ ​ขุยมะพร้าว​ ​ร๊อควูลล์​ ​พีท​ ​ฯลฯ​ ​การปลูกพืชระบบนี้นิยม​กัน​อย่างแพร่หลาย​ ​วิธีหนึ่ง​ ​การปลูกพืช​ใน​วัสดุปลูก​ส่วน​ใหญ่​จะ​แตกต่าง​กัน​ทางด้านของเทคนิคการ​ให้​น้ำ​และ​สารละลายธาตุอาหาพืช​ ​(​ความ​ถี่​และ​ปริมาณสารละลายที่​ให้​แต่ละครั้ง​และ​องค์ประกอบของสารละลาย) ​ขึ้น​อยู่​กับ​คุณสมบัติของวัสดุปลูกที่​ใช้​ ​ซึ่ง​จะ​ต้อง​มีการทดลองเพื่อหาวิธีการที่​เหมาะสม​ ​ซึ่ง​รูปแบบของการ​ให้​สารละลาย​กับ​วัสดุปลูก​จะ​มี​อยู่​ 2 ​แบบ​ ​คือ
1. ​แบบสารละลาย​ไม่​หมุนเวียน​ (Non Circulation Substrate Culture)
2. ​แบบสารละลายหมุนเวียน​ (Circulation Substrate Culture)
​ใน​ปัจจุบันรูปแบบการปลูกพืชไร้ดิน​ด้วย​วิธีปลูก​ใน​วัสดุปลูกชนิดต่างๆ​ ​เช่น​ ​กากมะพร้าวสับ​ ​กำ​ลัง​เป็น​ที่นิยมอย่างมาก​ใน​พื้นที่ดู​แลของมูลนิธิ​โครงการหลวง​ใน​การปลูกพริกหวาน​ ​มะ​เขือเทศ​ ​และ​แตงเมลอน

การปลูกผัก​ใน​วัสดุปลูกที่​เป็น​ทราย​ ​โดย​เป็น​ระบบที่สารละลายธาตุอาหารพืช​ไม่​ไหลเวียน​

การปลูกพืช​ใน​วัสดุปลูก​โดย​ใช้​กรวดแบบ
​สารละลายหมุนเวียนที่ศูนย์พัฒนา​โครงการหลวงหนองหอย

​การปลูกพืชที่​ใช้​วัสดุปลูกที่​ไม่​ใช่​ดิน​ ​จะ​มีวัสดุปลูกชนิดต่างๆ​ ​มากมายที่​เป็น​อินทรีย์​และ​อนินทรีย์​ซึ่ง​ปัจจุบันก็​ได้​มี​ความ​พยายามที่​จะ​ใช้​วัสดุปลูกที่​เป็น​สารอินทรีย์​เพิ่มมากขึ้น​ ​ทั้ง​นี้​เพื่อลด​หรือ​หลีกเลี่ยงการ​ใช้​สารเคมีที่​เริ่ม​ไม่​เป็น​ที่​ต้อง​การของตลาด
​การปลูกแบบ​ใช้​วัสดุปลูก​ต้อง​มีภาชนะปลูกอาจ​เป็น​ ​ถุง​ ​กระถาง​ ​ใช้​ซี​เมนต์​ ​ราง​ ​ภาชนะ​ ​กะบะ​ ​ถัง​ ​โดย​สิ่งสำ​คัญก็คือ​ ​ต้อง​เป็น​สิ่งที่หา​ได้​ง่าย​ใน​พื้นที่
​ระบบการ​ให้​สารละลาย​จะ​สามารถ​ใช้​ระบบหยด​หรือ​สปริงเกอร์​ ​หรือ​ให้​น้ำ​ไหล​เป็น​ทาง​ ​และ​สารที่​ให้​ไป​กับ​น้ำ​อาจ​ให้​เป็น​สารละลายอินทรีย์​ ​หรือ​สารละลายอนินทรีย์ก็​แล้ว​แต่​จะ​เลือก​ใช้

การปลูกพริกหวาน​(พริกยักษ์)​และ​มะ​เขือเทศ​ใน​กากมะพร้าวสับบริ​เวณพื้นที่ของเกษตรกร​ใน​พื้นที่ดู​แล​และ
​แปลงทดลองพืชผักของ​ ​ของมูลนิธิ​โครงการหลวง​ ​ที่ตำ​บลโป่งแยงนอก​ ​อำ​เภอแม่ริม​ ​จังหวัดเชียง​ใหม่​ ​แบบสารละลาย​ไม่​หมุนเวียนย้อนกลับ​โดย​ใช้​ระบบน้ำ​หยด

[Image]

การปลูกพืช​ใน​วัสดุปลูกอินทรีย์​ (ปุ๋ยหมัก) ​ที่บรรจุลง​ใน​กระสอบ

ระบบปลูก​ใน​ราง​โดย​ใช้​วัสดุปลูกอินทรีย์​โดย​ใน​ไต้หวันทำ​เป็น​ราง​ใส่​ปุ๋ยหมักที่​เรา​ได้
​หมักลงไป​ ​เมื่อปลูกไปก็​เติมปุ๋ยหมัก​ได้​เรื่อยๆ​ 1 ​ต้นเฉลี่ย​แล้ว​ใช้​ปุ๋ยหมัก​ 12 ​ลิตร​ ​ถ้า​รางยาว​12 ​ฟุต​
​จะ​กำ​หนด​ให้​มี​ความ​สูง​ 30 – 35 ​เซนติ​เมตร

3. ​ระบบปลูก​ให้​รากลอย​อยู่​กลางอากาศ​ (แอโรโพนิคส์​ ; Aeroponics)
​เป็น​ระบบที่ทำ​ให้​รากพืชอิ่มตัวอย่างต่อ​เนื่อง​ด้วย​การพ่นสารละลายที่มีธาตุอาหารพืช​เป็น​ระยะ​ ​ใน​รูปคล้ายๆ​ ​แปลงพ่นหมอก​ ​ระบบนี้รากพืช​ไม่​ได้​จุ่ม​อยู่​ใน​น้ำ​ ​ซึ่ง​เป็น​สารละลายธาตุ​ ​อาหารพืช​ ​แต่​จะ​มี​ความ​ชื้นอิ่มตัว​อยู่​ตลอดเวลา​ ​เพื่อ​ให้​รากคง​ความ​ชื้นสัมพัทธ์​อยู่​ใน​ระดับ​ 95-100% ​โดย​วิธีการนี้พืช​ได้​อาหารครบถ้วน​และ​พอเพียง​ ​ระบบนี้ราก​จะ​ลอย​อยู่​ใน​อากาศ​ใน​ระบบปิด​ ​ที่​กัน​แสง​ ​แต่การปลูก​ด้วย​ระบบแอโรโพนิคส์​ ​ต้อง​ใช้​ระบบควบคุมการฉีดพ่นธาตุอาหารแบบอัตโนมัติ​ ​วิธีการนี้​ใช้​น้ำ​น้อยมาก​ ​การปลูกพืช​ใน​ระบบแอโรโพนิคส์นี้​ ​ความ​ชื้น​จาก​การฉีดพ่นสาร​ ​ละลายธาตุอาหาร​จะ​ไปกระตุ้น​ให้​รากพืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ภาย​ใน​ 10 ​วัน​ ​และ​ต้นพืช​โดย​เฉพาะพืชผัก​สามารถ​เจริญเติบโตเก็บเกี่ยว​ได้​ภาย​ใน​ระยะ​เวลา​เพียง​ 30 ​วัน​เท่า​นั้น​ ​โดย​รูปแบบ​ ​การปลูกพืช​ให้​รากลอย​อยู่​ใน​อากาศนี้​ ​จะ​นิยมสำ​หรับพืชหัวที่​ไม่​สามารถ​แช่​อยู่​ใน​น้ำ​หรือ​อยู่​ใน​ดินที่​จะ​เสี่ยงต่อโรคทางดิน​ ​เมื่อมีระยะการปลูกนานเกิน​ 2 ​เดือน​

การปลูกพืช​ใน​ระบบแอโรโพนิคส์​ใน​ยานอวกาศแบบ​ rotation drum

การเปรียบเทียบการปลูกพืชในดินและการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

ข้อ​ได้​เปรียบของระบบไฮโดรโพนิคส
1. ​ควบคุมการ​ใช้​ธาตุอาหารของพืช​ได้​ง่ายกว่าการปลูก​ใน​ดิน​ ​ซึ่ง​มัก​จะ​พบ​
1.1) ​ปัญหา​ความ​ไม่​สม่ำ​เสมอของธาตุอาหาร​ใน​ดินที่​เกิด​จาก​วัตถุต้นกำ​เนิดที่​แตกต่าง​กัน​
1.2) ​ควบคุม​ pH ​(​ความ​เป็น​กรด​-​ด่างของดิน) ​ได้​ง่าย​ ​ซึ่ง​ pH ​นี้​เองมี​ส่วน​ใน​การควบคุมรูปของธาตุอาหารพืช​ทั้ง​ใน​ดิน​และ​ใน​สารละลาย​ให้​อยู่​ใน​รูปที่พืช​จะ​นำ​ไป​ใช้​ได้​ทันที​ ​อีก​ทั้ง​วิธี​ไฮโดรโพนิคส์​จะ​ช่วย​ให้​ธาตุอาหารพืช​ไม่​สูญหายไปไหน​ ​ทั้ง​ใน​รูปการถูกชะล้างไป​จาก​ดิน​และ​การจับตัว​กับ​ธาตุบางชนิด​ใน​ดินตกตะกอนไป​ ​หรือ​เปลี่ยนแปลงไป​อยู่​ใน​รูปที่พืช​ใช้​ประ​โยชน์​ไม่​ได้​
1.3) ​ควบคุมปริมาณ​และ​รูปของจุลธาตุ​ (Trace elements) ​ที่พืช​ต้อง​การจำ​นวน​ 7 ​ธาตุ​ได้​แก่​ ​เหล็ก​ (Fe), ​ทองแดง​ (Cu), ​สังกะสี​ (Zn), ​โบรอน​ (B), ​โมลิบดีนัม​ (Mo), ​แมงกานีส​ (Mn) ​และ​คลอรีน​ (Cl) ​ให้​อยู่​ใน​รูป​ (Form) ​ที่รากพืชดูดนำ​ไป​ใช้​ได้​และ​ไม่​ให้​มีปริมาณมากเกินไป​ ​จนเกิด​เป็น​พิษต่อพืช​
1.4) ​นอก​จาก​นี้​ยัง​ควบคุมผลตกค้างของการมีธาตุอาหารสะสม​ (Residual effect) ​ใน​พืช​, ​ใน​ดิน​ ​และ​ใน​สภาพแวดล้อมจนเกิด​เป็น​พิษ​ใน​ระบบนิ​เวศ
2. ​ลดค่า​แรงงาน​ ​เนื่อง​จาก​ใน​ระบบการปลูกไฮโดรโพนิคส์​ ​ไม่​ต้อง​มีการเตรียมแปลงปลูกขนาด​ใหญ่​จึง​ไม่​ต้อง​จ่ายค่ารถไถเตรียมดิน​ ​ค่ากำ​จัดวัชพืช​ ​งานดินต่าง​ ​ๆ​ ​ทั้ง​การ​ใส่​ปุ๋ย​และ​ยกร่อง​เป็น​ต้น
3. ​ความ​สม่ำ​เสมอของการ​ให้​น้ำ​ ​ระบบไฮโดรโพนิคส์​เป็น​ระบบที่ควบคุมการ​ให้​น้ำ​ตาม​ความ​ต้อง​การของพืช​ ​ดัง​นั้น​ ​ความ​สม่ำ​เสมอของการ​ให้​น้ำ​จึง​เป็น​หัวใจของระบบ
4. ​ระบบไฮโดรโพนิคส์​จะ​ประหยัดน้ำ​กว่าการ​ให้​น้ำ​กับ​พืชที่ปลูกทางดิน​ไม่​น้อยกว่า​ 10 ​เท่า​ ​ซึ่ง​จะ​มีผลทำ​ให้​การปลูกพืช​ใน​ฤดู​แล้ง​หรือ​นอกฤดูปลูกปกติ​ใน​ดิน​ ​สามารถ​ทำ​ได้​โดย​มีผลตอบแทนสูงกว่า
5. ​ควบคุมโรค​ใน​ดิน​ได้​ง่ายกว่าการปลูกพืช​ใน​ดินปกติ
6. ​ได้​ผลผลิตที่มี​ความ​สม่ำ​เสมอ​และ​คุณภาพดีกว่าการปลูก​ใน​ดินปกติ
7. ​สามารถ​ปลูกพืช​ได้​ใน​สภาพที่ดินบริ​เวณข้างเดียว​ไม่​เหมาะสมเช่น​ ​ดิน​เป็น​กรด​, ​เป็น​ด่าง​ ​หรือ​ดินเค็ม​ ​และ​มีสภาพขาดแคลนน้ำ

ข้อด้อยของระบบไฮโดรโพนิคส์
​ข้อด้อยของระบบไฮโดรโพนิคส์ที่มัก​จะ​ถูกกล่าว​ถึง​เสมอก็คือ​ ​การที่​ต้อง​ลงทุนสูง​ทั้ง​โรงเรือน​และ​ระบบ​ ​เมื่อเทียบ​กับ​การปลูกพืช​ใน​ดินตามปกติ​ ​และ​ต้อง​มี​ความ​รู้ด้านการจัดการ​และ​เทคโนโลยีที่สูงกว่าการปลูกพืช​ใน​ดินปกติ​ ​โดย​เฉพาะข้อมูลพื้นฐาน​ใน​เรื่องสรีรวิทยาของพืช​ ​และ​พื้นฐานทางเคมี​และ​ธาตุอาหารพืช​ ​นอก​จาก​นี้​ใน​บริ​เวณที่​จะ​ติดตั้งระบบไฮโดรโพนิคส์​จะ​ต้อง​มีระบบน้ำ​และ​ระบบไฟฟ้าที่พร้อม​ ​เนื่อง​จาก​เป็น​พื้นฐานสำ​หรับการติดตั้งระบบการปลูกพืช​ด้วย​วิธีนี้​ ​และ​ข้อจำ​กัดของชนิดพืชปลูกมีค่อนข้างสูง​ ​การเลือกชนิดพืชที่​จะ​ปลูก​ใน​เชิงพาณิชย์​ต้อง​มีการศึกษาตลาดอย่างถี่ถ้วน​ ​ควร​เป็น​พืชที่​แตกต่าง​จาก​พืชที่ปลูก​ทั่ว​ไป​ใน​ดินปกติ