1. ความผิดปกติทางกายภาพที่เกิดกับพืช
การปลูกไฮโดรโพนิคส์จะมีข้อดีหลายอย่างในขณะเดียวกันก็ไม่มีหลักประกันว่าการผลิตในระบบ
นี้จะได้ผลผลิต ที่ดีทุกต้น ความผิดปกติทางกายภาพในรูปร่างต่างๆ ของผลผลิตยังคง เกิดขึ้น ซึ่งมีผลต่อ
คุณภาพของผลผลิตที่ได้ สิ่งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากผลของอุณหภูมิที่ไม่สามารถควบคุมได้ความไม่สมดุล
ของธาตุอาหารพืช ระบบการให้น้ำที่ไม่เหมาะสม สายพันธุ์ของพืชที่ มีความอ่อนแอจะมีผลทำให้ผลผลิต
มีรูปทรงที่ผิดปกติไปเนื่องจากว่าพืชไฮโดรโพนิคส์ที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดในพืชตระกูลมะเขือเทศและ
พืชตระกูลแตง ความผิดปกติของพืชเหล่านี้ เช่น
1.1 Blossom-end-rot ปลายผลเน่าดำ
1.2 Fruit cracking ผลแตก
1.3 Blotchy ripening รอยจุดบนผล
1.4 Green shoulder, sunscald (มะเขือเทศ)
1.5 Roughness และ Catfacing เหี่ยวเป็นวงรอบผล และรูปร่างผลผิดปกติ ผิวตะปุ่มตะปั่ม
1.6 Crooking (แตงกวา) ผลแตงโค้งงอ
2. โรคและแมลง
2.1 โรคทางน้ำที่สำคัญในระบบไฮโดรโพนิคส์ สาเหตุมาจากเชื้อ
1) พิเทียม (Pythium)
2) ไฟทอปเทอรา (Phytopthera)
3) ฟูซาเรียม (Fusarium)
2.2 แมลงศัตรูพืชที่พบในการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์ ได้แก่ แมลงหวี่ขาว ไรแดงสองจุด
(red spider mites) เพลี้ยอ่อน (Aphids) ศัตรูพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์จัดว่าน้อย เมื่อเทียบกับการปลูกพืช ในดินเป็นผลมาจากการปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์ สามารถทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคในวัสดุปลูก และ
ระหว่างการปลูกได้ ทำให้เกิดการสะสมของโรคและศัตรูพืชอื่นน้อยแต่หากจัดการไม่เหมาะสมการ
ระบาดรุนแรงก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน
3. การป้องกันกำจัดโรคทางน้ำในระบบไฮโดรโพนิคส์
1. การใช้เทคนิควิธีการป้องกันกำจัดโรค
- ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อประมาณ 70 -80 องศาเซลเซียส นาน 5 – 10 นาที
- ใช้ช่วงแสงยูวีที่ 253 นาโนเมตร (UV-C)
- การกรอง
- ใช้โอโซน เปิดเครื่อง 3 – 6 รอบต่อวัน รอบละ 30 นาที ฆ่าเชื้อที่มีในน้ำ
2. การใช้สารเคมี
- ใช้โพแทสเซียมซิลิเกตที่ระดับของความเข้มข้น 100 -200 ส่วนต่อล้านใส่ในสารละลาย
อาหารพืชเพื่อกำจัดเชื้อพิเทียม
- ใช้โซเดียมไฮโปคลอไรด์ (Sodium Hypochlorite) ที่ระดับความเข้มข้น 5 ส่วนต่อล้าน
นาน 15 นาที ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนเริ่มปลูกพืช เพื่อกำจัดเชื้อพิเทียม ไฟทอปเทอรา และฟูซาเรียม
- ใช้สารเบนเลท โอดี (Beromyl) หรือ เมททาแลคซิล (Melalaxyl) ที่ระดับความเข้มข้น 5
ส่วนต่อล้าน เพื่อกำจัดเชื้อพิเทียม
- ใช้สารไอโอดิน (Iodine) ที่ระดับความเข้มข้น 0.7ส่วนต่อล้าน เพื่อกำจัดเชื้อฟูซาเรียม
- ใช้สารไฮโปคลอไรด์ (H2O2) ที่ระดับความเข้มข้น 100 ส่วนต่อล้าน เพื่อกำจัดเชื้อ
ฟูซาเรียม
- ใช้สารไคโตซาน (Chitosan) ที่ระดับความเข้มข้น 100-400 ส่วนต่อล้าน เพื่อกำจัดเชื้อ
พิเทียม
No comments:
Post a Comment